ฉัน “แมน” ไป หรือรังไข่มีปัญหา
📌ผมน้อยแต่ขนดก
📌หนวดขึ้นต้องคอยโกนตอนแต่งหน้า
📌สิวเขรอะ
📌ประจำเดือนมาๆ หายๆ
📌น้ำหนักก็ขึ้นไม่มีท่าทีว่าจะลง
ดูเหมือนผู้ชายมากกว่าผู้หญิงเสียอีก
ทั้งหมดล้วนเป็นสัญญาณเตือนของภาวะถุงน้ำในรังไข่หลายใบ (Polycystic ovarian syndrome หรือ PCOS) ซึ่งเป็นความผิดปกติของระบบฮอร์โมนและการทำงานของรังไข่ ส่งผลให้ร่างกายสร้างฮอร์โมนเพศชาย (แอนโดรเจน) มากกว่าปกติ หรือ ภาวะดื้อต่ออินซูลินที่ไปรบกวนการสร้างฮอร์โมนของรังไข่ ทำให้ไข่ไม่ตกตามรอบ นำมาซึ่งปัญหาประจำเดือนมาไม่ปกติ
ทฤษฎีการแพทย์แผนจีนเล่าถึงภาวะนี้ว่าเกิดจากร่างกายไม่สมดุล โดยเฉพาะอวัยวะสำคัญอย่าง ตับ และ ไต กล่าวคือตับเป็นอวัยวะเก็บเลือด ควบคุมปริมาณเลือด จึงมีอิทธิพลอย่างมากต่อเรื่องการเกิดประจำเดือนของผู้หญิง ส่วนไตเป็นอวัยวะต้นกำเนิดชีวิต ดูแลการสืบพันธุ์ การเจริญเติบโต การเปลี่ยนแปลงของร่างกาย รวมไปถึงม้ามที่เป็นอวัยวะที่มีบทบาทอย่างมากในการย่อยอาหาร ดูดซึม และผลักดันขับเคลื่อนสารน้ำต่างๆ ร่างกาย
เมื่ออวัยวะเหล่านี้อ่อนแอหรือทำงานได้ไม่เต็มที่ จะส่งผลทำให้ร่างกายของผู้หญิงแสดงลักษณะทางเพศผิดจากเดิม เช่น ขนขึ้นดกมากกว่าปกติบนใบหน้า แขนขา หน้าท้อง ผิวมัน สิวขึ้น หรือทำให้กระบวนการเผาผลาญอาหารบกพร่องตามไปด้วย
คิดสภาพว่าเมื่อเราย่อยอาหารได้ไม่หมด ก็จะเหลือกากอาหาร ไปอุดตามเส้นลมปราณซึ่งเป็นถนนลำเลียงสารสำคัญต่างๆ ในร่างกาย กากอาหารอุดตันเลือดก็คั่ง ไหลไปที่ไหนไม่ได้ สุดท้ายประจำเดือนจึงมาไม่ปกติ จินตนาการเหมือนรถติดบนถนน ถ้าต่อให้จักรยานยนต์ก็ยากผ่านได้นั่นเอง
จากผลงานวิจัยหลายชิ้นได้ทำการเก็บข้อมูลเกี่ยวกับการรักษาภาวะถุงน้ำในรังไข่หลายใบด้วยวิธีทางการแพทย์แผนจีน ทั้ง การฝังเข็ม การใช้ตำรับยาจีน พบว่าการรักษาด้วยการฝังเข็มมีความสามารถในการปรับรอบการตกไข่และรอบเดือน ทั้งยังช่วยปรับสมดุลทางปริมาณของฮอร์โมนที่มีผลต่อการตกไข่และฮอร์โมนเพศชายได้ในกลุ่มผู้เข้าทดลอง มากไปกว่านั้นยังมีผลการเก็บข้อมูลที่แสดงถึงการเปลี่ยนของระดับน้ำตาลในเลือด (Fasting Blood Sugar) เมื่อทำการรักษาด้วยการฝังเข็มและใช้ตำรับยาจีนควบคู่กัน
ภาวะถุงน้ำในรังไข่หลายใบนับเป็นเรื่องที่น่ากังวลอย่างมากในปัจจุบัน เพราะความเสี่ยงของสิ่งที่จะตามมันมาด้วย ทั้งภาวะดื้ออินซูลินที่นำไปสู่โรคเบาหวาน ภาวะมีบุตรยาก การสำรวจความเปลี่ยนแปลงของร่างกายเราอยู่เสมอจึงยิ่งสำคัญมากขึ้น แต่ถ้าหากว่าคุณยังไม่แน่ใจว่าสิ่งที่คุณกำลังเผชิญอยู่คืออะไร จะแก้ปัญหาอย่างไร อย่าลืมคิดถึงหยินหยางคลินิกให้เราช่วยแก้ปัญหาและดูแลคุณนะคะ
อ้างอิง: Acupuncture for polycystic ovarian syndrome: A systematic review and meta-analysis – PubMed (nih.gov)
Use of Acupuncture in Overweight/Obese Women with Polycystic Ovary Syndrome – PubMed (nih.gov)